วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์  และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
1.            การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัพท์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย
คือ การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ภายนอกต่างๆของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพแป้นพิมพ์, เครื่องพิมพ์, เมาส์ และอื่นๆ  กับ ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งจะมีการติดต่อกันอยู่เสมอๆ การที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นก็คือ การมีการติด ต่อหรือการอินเทอร์รัพท์ที่ดีนั่นเอง

2.            จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

3.            สาเหตุที่การป้องฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
เพราะ  ข้อผิดพลาดหลายอย่างมักจะตรวจสอบได้โดยฮาร์ดแวร์ ซึ่งสามารถควบคุมได้โดยระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำการจัดการข้อผิดพลาดนั้นไปเลย

4.            จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
ผู้ใช้ คือ บุคคลที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับระบบ เพื่อทำให้เกิดการดำเนินการ หรือเพื่อใช้การทำงานให้เป็นประโยชน์ ส่วนการทำงานของระบบระบบ หมายถึง การทำงานร่วมกันของส่วนประกอบแต่ละส่วนอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

5.            ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
IOCS ต้องอาศัยรูทีนบางอย่างทั้งจากเคอร์เนล และผู้จัดการหน่วยความจำในการทำงานของมันอีกด้วย
เคอร์เนลจัดหา  รูทีนที่เหมาะสมกับการเกิดอินเตอร์รัพต์จากอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต ให้ IOCS ทำงานหรือ IOCS เรียกใช้รูทีนผู้จัดการหน่วยความจำให้ช่วยหาเนื้อที่ในหน่วยความจำเพื่อใช้ทำบัฟเฟอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ

6.            ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
การจัดการหน่วยความจำเป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของ OS หน่วยความจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อน และ มีความสามารถมากมัก ต้องการหน่วยความจำปริมาณมากด้วย แต่หน่วยความจำเป็นทรัพยากรที่มีราคาแพง และ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กหน่วยความจำมีขนาดจำกัด ทำให้เราไม่สามารถขยายขนาดหน่วยความจำได้มากตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความสะดวกของผู้ใช้เราจึงยกการจัดการหน่วยความจำนี้ให้เป็นหน้าที่ของ OS เช่น ตรวจดูว่าโปรแกรมใหม่จะถูกนำไปวางไว้ในหน่วยความจำที่ไหน เมื่อใด หน่วยความจำไหนควรถูกใช้ก่อน หรือหลัง โปรแกรมไหนจะได้ใช้หน่วยความจำก่อน

7.            ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
ซีพียู (cpu Scheduling) เป็นหลักการทำงานหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการรันโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งการแบ่งเวลาการเข้าใช้ซีพียูให้กับโปรเซสที่อาจถูกส่งมาหลายๆ โปรเซสพร้อมๆกัน ในขณะที่ซีพียูอาจมีจำนวนน้อยกว่าโปรเซส หรืออาจมีซีพียูเพียงตัวเดียว จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ปริมาณงานที่มากขึ้นกว่าการที่ให้ซีพียูทำงานให้เสร็จทีละโปรเซส ในบทนี้ เราจะมาพูดถึงอัลกอริทึมพื้นฐานของการจัดเวลาซีพียูนี้ โดยจะพูดถึงวิธีการหลักๆ ที่แต่ละอัลกอริทึมมีแตกต่างกัน ข้อดีข้อเสีย และความเหมาะสมต่อระบบงานแบบต่างๆ เพื่อการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

8.            โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตัวส่ง (dispatcher) มีหน้าที่จัดการส่งโปรเซสเข้าไปให้ซีพียู
ตัวจัดการอินเตอร์รัพต์ขั้นแรก (first-level interrupt handler) มีหน้าที่วิเคราะห์การอินเตอร์รัพต์ที่ เกิดขึ้น และเลือกใช้รูทีนที่เหมาะสมกับอินเตอร์รัพต์นั้นๆ
ตัวควบคุมมอนิเตอร์ (monitor control) มีหน้าที่ควบคุมดูแลการเข้าถึงมอนิเตอร์ต่าง ๆ ของระบบ

9.            ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
ระบบปฏิบัติการบางระบบ   เช่น ระบบปฏิบัติการดอสหรือเอ็มเอสดอล (MS-DOS)มีการจัดการโปรเซสที่ค่อนข้างง่าย เนื่องจากจัดการโปรเซสแบบผู้ใช้คนเดียว (Sing User)ทำให้การใช้งานซีพียูอาจไม่ได้รับความคุ้มค่านัก แต่ก็เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบง่ายเพราะไม่ค่อยมีความสลับซับซ้อน   อีกทั้งยังใช้ทรัพยากรค่อนข้างน้อย
แต่ในระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาใช้งานกับระบบใหญ่ ๆ นั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานหลายๆ คน ( Multiuser)  ซึ่งอาจมีซีพียูหนึ่งตัวหรือมากกว่า ( Multiprocessor) ก็เป็นได้  ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับระบบคอมพิงเตอร์ดังกล่าว  จำเป็นต้องได้รับการออกแบบที่ดี  และที่สำคัญย่อมมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย
สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ที่ส่วนใหญ่มักมีเพียงซีพียูเดียว  และใช้ระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานหลายๆโปรแกรมนั้น   ในความเป็นจริง ซีพียูจะทำงานได้ทีละงานเท่านั้นซึ่งเป็นลักษณะแบบ  Sequential  Execution  ดังที่นอยมานน์ได้กล่าวไว้   แต่เนื่องด้วยการทำงานของซีพียูมีความรวดเร็วมาก  เกิดสายตามนุษย์ที่จะจับผิดว่าซีพียูทำงานที่ละงานอยู่   ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าซีพียูสามารถทำงานได้หลายๆ งานในขณะเดียวกัน งานที่ส่งไปประมวลผลในซีพียู  จะเรียกว่าโปรเซส  โดยโปรเซสคือโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลหรือถูกเอ็กซคิวต์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โปรแกรมนั้นทำการครอบครองซีพียูในขณะนั้นอยู่  ซึ่งกระบวนการดังกล่าว  ซีพียูก็ต้องมีการบวนการจัดการโปรเซสที่ครอบครองรวมถึงการจัดการกับโปรเซสอื่น ๆ ที่ต้องการขอใช้บริการซีพียู

10.    ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ

การจัดสรรหน่วยความจำ

การจัดการอุปกรณ์

การจัดการข้อมูล


11.    ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
การสร้างแฟ้มข้อมูล (file creating) คือ การสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่จะสร้างจากเอกสารเบื้องต้น (source document) การสร้างแฟ้มข้อมูลจะต้องเริ่มจากการพิจารณากำหนดสื่อข้อมูลการออกแบบฟอร์มของระเบียน การกำหนดโครงสร้างการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล (file organization) บนสื่ออุปกรณ์
การปรับปรุงรักษาแฟ้มข้อมูลแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1) การค้นคืนระเบียนในแฟ้มข้อมูล (retrieving) คือ การค้นหาข้อมูลที่ต้องการหรือเลือกข้อมูลบางระเบียนมาใช้เพื่องานใดงานหนึ่ง การค้นหาระเบียนจะทำได้ ด้วยการเลือกคีย์ฟิลด์ เป็นตัวกำหนดเพื่อที่จะนำไปค้นหาระเบียนที่ต้องการในแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจจะมีการกำหนเงื่อนไขของการค้นหา เช่น ต้องการหาว่า พนักงานที่ชื่อสมชายมีอยู่กี่คน
2) การปรับเปลี่ยนข้อมูล (updating) เมื่อมีแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลก็จำเป็นที่จะต้องทำหรือรักษาแฟ้มข้อมูลนั้นให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาจจะต้องมีการเพิ่มบางระเบียนเข้าไป (adding) แก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่ง (changing) หรือลบบางระเบียนออกไป (deleting)

12.    ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
ติดตามสถานะของอุปกรณ์ทุกชิ้น
กำหนดอุปกรณ์ให้ใช้งาน
การยกให้ (Dedicated Device)
การแบ่งปัน (Shared Device)
การจำลอง (Virtual Device)
การจัดสรรอุปกรณ์ (Allocate)
การเรียกคืน (Deallocate)
13.    ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบปฏิบัติการ หน่วยความจำนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กล่าวคือถ้าหากคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก นั่นหมายถึง ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นโปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีสมรรถนะสูง มักเป็นโปรแกรมที่ ต้องการหน่วยความจำสูง แต่ก็เป็นที่ทราบแล้วว่าหน่วยความจำมีราคาที่แพง (เปรียบเทียบราคาฮาร์ดดิสก์ประมาณ 5,000 บาท สามารถได้ความจุถึง 10 CB ขึ้งไป แต่ถ้าเป็นแรมได้ความจุเพียงหน่วย MB เท่า) ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีจำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากได้

14.    จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
- การให้โปรแกรมทำงาน (Program Execution)
- การรับส่งข้อมูล ( I / O Operation)
- การใช้งานระบบแฟ้มข้อมูล ( File – System Manipulation)
- การติดต่อสื่อสาร ( Communications)
- การตรวจสอบข้อผิดพลาด (Error Detection)
นอกจากระบบปฏิบัติการจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานแล้ว ยังต้องประกันประสิทธิภาพในการปฏิบัติการของระบบเองอีกด้วย ในระบบผู้ใช้หลายคนนั้น เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน
1. การจัดสรรทรัพยากร ( Resource Allocation )
2. การทำบัญชี ( Accounting )
3. การป้องกัน ( Protection )
การเรียกระบบ (System Call)
แยกต่างประเภทของคำสั่งเรียกระบบ (Type of System Calls)
1. การควบคุมกระบวนการ ( Process Control )
2. การใช้งานแฟ้มข้อมูล ( File Manipulation )
3. การใช้งานอุปกรณ์ ( Device Manipulation)
4. การใช้งานข้อมูลของระบบ ( Information Maintenance )
5. การสื่อสาร ( Communication )
โปรแกรมระบบ (System Programs)
โปรแกรมระบบช่วยให้การพัฒนาและการทำงานของโปรแกรมอื่นๆ ง่ายและสะดวก เราสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
การใช้งานแฟ้มข้อมูล ( File Manipulation )
- ข้อมูลสถานะของระบบ ( Status information )
- การแก้ไขแฟ้มข้อมูล ( File Modification )
- ตัวแปลภาษา ( Programming – Language Support )
- ตัวนำโปรแกรมลงหน่วยความจำและการทำงาน ( Program loading and Execution )
- การสื่อสาร ( Communication )

15.    ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
การเชื่อมต่อระหว่างระบบปฏิบัติการกับโปรแกรมของผู้ใช้ ( User Program ) นั้น ระบบปฏิบัติการได้เตรียมส่วนของคา สั่งต่างๆในการให้บริการไว้เรียบร้อยแล้วซึ่งเราเรียกว่าคา สั่งเรียกระบบ( System Call )โดยในการทา งานของการเรียกระบบซึ่งอาจจะประกอบด้วย การสร้าง การลบและการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ โดยจะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปฏิบัติการ ซึ่งบริการต่างๆ ที่ระบบปฏิบัติการ เตรียมไว้เพื่อบริการให้กับโปรแกรมผู้ใช้นั้นมีหลายลักษณะ ระบบปฏิบัติการ แต่ละแบบอาจจะมี การเตรียมการบริการที่แตกต่างกัน แต่สา หรับการบริการด้านการจัดการโปรเซส และการจัดการ แฟ้มข้อมูลนั้นถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบปฏิบัติการทุกตัวที่ต้องให้ความสำคัญ และพัฒนาระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของระบบ
ปฏิบัติการนั้น ทั้งด้านความเร็วในการทา งาน ปริมาณงานที่สามารถทา ได้ รวมถึงความเชื่อถือได้ของระบบ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำจัดไวรัสและอาการหนักแค่ไหนที่สมควรลง Windows ใหม่

ไวรัสคืออะไร ?
          ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
          การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรมๆ หนึ่ง การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสแต่ละตัว ปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
          จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ เป็นต้น 
บูตเซกเตอร์ไวรัส
          Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

โปรแกรมไวรัส
          Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่ 2 วิธี คือ การแทรกตัวเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัสอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมตัวอื่นๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้น ทำงานตามปกติต่อไป

ม้าโทรจัน
          ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์

          ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดตั้งในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

โพลีมอร์ฟิกไวรัส
          Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สทีลต์ไวรัส
          Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อาการของเครื่องที่ติดไวรัส
 สามารถสังเกตการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้น ได้แก่ 
  •  ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
  •  ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
  •  วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป 
  •  ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อยๆ
  •  เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
  •  เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
  •  แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
  •  ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
  •  ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
  •  ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ๆ ก็หายไป
  •  เครื่องทำงานช้าลง
  •  เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
  •  ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  •  เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่
  •  ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย 
การกำจัดไวรัส
          เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริงๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน 

บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
 
          เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัสให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่าตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใดๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

เรียกโปรแกรมไวรัสขึ้นมาตรวจหาและทำลาย
          ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมาที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
          การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากโปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้น คือ ให้ลองเปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่าแสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
          หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้
อาการหนักแค่ไหนที่ควรลง Windows ใหม่
อาการที่ 1 เครื่องบู๊ตไม่ขึ้น
เครื่องเจอปัญหาหนักถึงกับบู๊ตไม่ขึ้น Windows ไม่สามารถแสดงขึ้นมา หรือไม่สามารถใช้งานได้ ค้างอยู่ที่หน้าจอสีดำ หรืออยู่ที่หน้าจอโหลดโลโก้ของ Windows

อาการที่ 2 เครื่องแฮงค์บ่อย
เปิดเครื่องมาใช้งานได้ไม่นาน อยู่ดีๆ ก็เกิดการค้างไปซะงั้น เป็นประจำ ไม่สามารถทำงาน ปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยๆ อาจส่งผลให้ฮาร์ดิสก์พังตามไปด้วยก็เป็นได้ (ต้องกด Reset ตลอด)ปัญหานี้จะต้องตรวจดูก่อนว่า อาการแฮงค์เกิดมาจากอะไร เช่น ในขณะที่เปิดโปรแกรมอะไรอยู่

อาการที่ 3 เครื่องช้ามากๆ ทำอะไรไม่ทันใจเลย
เครื่องทำงานช้า ไม่ทันใจเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ (ของใหม่ย่อมต้องดีกว่า) เช่น บู๊ตเข้าระบบช้ามาก เปิดโปรแกรมก็ต้องรอนาน การบันทึกงานก็รอแล้วรออีก

อาการที่ 4 ติดไวรัส แก้ก็ไม่หาย
ปัญหาไวรัสดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เครื่องไหนไม่มีไวรัสสิแปลก ไวรัสมีหลายประเภท และส่งผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เช่น แสดงข้อความแปลกๆ จนถึงทำให้ Windows รวน ทำลายข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง หากยังโดนเล่นงานต่อไป อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะทำงานหนักขึ้น อายุการใช้งานก็จะลดลงตามไปด้วย

อาการที่ 5 เครื่องมีปัญหาจุกจิก แก้ยังไงก็ไม่หาย อาการที่พบได้บ่อย เช่น
  • ฟอนต์เมนูแสดงผิดไปจากปกติ
  • ตั้งค่าต่างๆ ของ Control Panel ไม่ได้
  • เปิดโปรแกรมหลายตัว หรือดูหนัง ฟังเพลง แล้วเครื่องค้าง
  • Copy หรือย้ายไฟล์เอกสารไม่ได้ คำสัง Copy, Paste หายไป
  • ไฟแสดงสถานะฮาร์ดดิสก์กระพริบตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
ปัญหาเหล่านี้ควรจะหาวิธีแก้ดูก่อนครับ หากแก้ไม่หายจริงๆ ก็ต้องลง Windows ใหม่ครับ

สิ่งที่เราจะได้จากการลง Windows ใหม่
  • ช่วยจัดการปัญหาที่มองไม่เห็น 100%
  • ได้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่เอี่ยม
  • กำจัดไวรัสได้อย่างเด็ดขาด